ธนาคารกลางเป็นธนาคารแห่งชาติที่ดำเนินการอิสระจากรัฐบาลและมีอิทธิพลต่อนโยบายการเงิน นอกจากนี้มันยังทำหน้าที่เป็นธนาคารสำหรับธนาคารพาณิชย์อื่นๆในประเทศอีกด้วย
เป้าหมายหลักของธนาคารกลางคือการรักษาเสถียรภาพทางราคาไว้ด้วยการควบคุมภาวะเงินเฟ้อและสร้างสภาพเศรษฐกิจในประเทศให้มีความมั่นคง
ธนาคารกลางมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็นสถาบันทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้พิมพ์เงินออกมาเป็นตั๋วเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย การพิมพ์เงินจะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมปริมาณเงินและจำนวนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจได้ การใช้คุณสมบัตินี้จะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมระดับเงินเฟ้อและสภาพเศรษฐกิจได้
นโยบายการเงิน
มาพูดคุยเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อกัน
เพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อธนาคารกลางจะสามารถเลือกใช้หนึ่งในสองนโยบายการเงินได้ซึ่งก็คือ:นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหรือนโยบายการเงินแบบเข้มงวด
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย/ นโยบายการเงินแบบหลวม/ นโยบายการเงินแบบขยายตัว
ากการเติบโตของ GDP ต่ำธนาคารกลางจะเพิ่มปริมาณเงินภายในประเทศ นอกจากนี้ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและลดอัตราเงินเฟ้อลง การลงทุนทางธุรกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกู้ยืมนั้นถูกลง ดังนั้นเมื่อมีการใช้นโยบายดังกล่าวธนาคารกลางจึงได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินในประเทศ
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำนักลงทุนชาวต่างชาติจะไม่ถือครองสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์ประเภททุนในประเทศขณะที่นักลงทุนในประเทศจะแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าจากต่างประเทศเช่นกัน การลดลงของการลงทุนจะทำให้ความต้องการของสกุลเงินในประเทศลดลง เป็นผลให้สกุลเงินในประเทศจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ
ข้อสรุปของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือหากธนาคารกลางดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเกิดการเติบโตขึ้น แต่จะมีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสกุลเงินของประเทศ
นโยบายการเงินแบบเข้มงวด/ นโยบายการเงินแบบหดตัว
เมื่อมีจำนวนเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอยู่เป็นจำนวนมากธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดปริมาณเงินและลดระดับเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะจำกัดความสามารถในการกู้ยืมของธุรกิจและครัวเรือน ผู้บริโภคภายในประเทศจะขาดทุน อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยให้ธนาคารกลางสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนขึ้นมา นักลงทุนชาวต่างชาติก็จะมีแนวโน้มที่จะถือครองสินทรัพย์ในประเทศกันมากขึ้น ส่งผลให้ความสมดุลในบัญชีทุนของประเทศเริ่มดีขึ้น นักลงทุนภายในประเทศก็จะทำการลงทุนในประเทศของตนเองเช่นเดียวกัน การลงทุนจำนวนมากจะช่วยให้สกุลเงินของประเทศแข็งค่าขึ้นซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของมันก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
สรุปได้ว่าการดำเนินการตามนโยบายแบบเข้มงวดจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและครัวเรือนในประเทศเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะสูงและจะทำให้ขาดความสามารถในการกู้ยืม แต่มันก็จะช่วยทำให้สกุลเงินในประเทศแข็งค่ามากขึ้น
ข้อสรุป: ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสนใจกับนโยบายการเงินของธนาคารกลาง?
กลับมาที่คำถามหลักของบทความนี้ เราจะมาสรุปว่าเหตุใดเทรดเดอร์ต้องให้ความสนใจกับนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
เพื่อให้การอธิบายนี้ง่ายขึ้นลองมาพิจารณากันสักตัวอย่าง เมื่อธนาคารกลางแห่งหนึ่งคงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำเป็นเวลานานเทรดเดอร์จะสามารถหาธนาคารกลางแห่งอื่นที่มีนโยบายการเงินที่ตรงกันข้ามได้นั่นก็คือ – ธนาคารกลางที่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เทรดเดอร์จะฝากเงินในธนาคารกลางแห่งที่สองเนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าหรือจะกู้ยืมจากธนาคารกลางแห่งแรกที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าแล้วใช้มันลงทุนในสกุลเงินอื่น
ความจริงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสกุลเงินของประเทศที่ธนาคารกลางดำเนินการตามนโยบายการเงินแบบเข้มงวดจะมีเสถียรภาพมากกว่าและเศรษฐกิจของประเทศจะแข็งแกร่งมากกว่าประเทศที่มีการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ผลก็คือสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสูงกว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่ธนาคารกลางมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า
ปัจจัยพื้นฐาน
1. ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ
ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจก็คือข้อมูลย่อยต่างๆของข้อมูลทางเศรษเศรษฐกิจและการเงินที่เผยเผยแพร่โดยหน่วยงานรัฐและเอกชน สถิติเหล่านี้ช่วยให้เห็นถึงตัวขับเคลื่อนตลาดและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เพื่อตอบสนองต่อข่าวเศรษฐกิจในทางเหมาะสม คุณต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่า การรายงานสถิติต่างๆ และ อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ในคำถาม ตอนนี้เราอยากแนะนำตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด และ อธิบายถึงผลกระทบของมันต่อราคาต่างๆของแต่ละค่าสกุลเงิน
ตัวชี้วัดผลผลิต: จีดีพี, ผลผลิตอุตสาหกรรม, ยอดค้าปลีก เมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลเหล่านี้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจก็จะโตตามขึ้นเช่นกัน ถ้าค่าข้อมูลเหล่านี้แข็งแรง ให้ดูค่าการแข็งตัวของสกุลเงิน
2. นโยบายการเงินของธนาคารกลาง
อัตราดอกเบี้ย. ธนาคารกลางหลัก ๆ ทั้งหมดตั้งค่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมไว้ มีนโยบายการเงินอยู่สองประเภทด้วยกัน: นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ลดอัตราดอกเบี้ยลงถ้าเศรษฐกิจของชาติมีความจำเป็นต้องพัฒนา; ผลกระทบของค่าสกุลเงินเป็นเชิงลบ) และ นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะลดอัตราเงินเฟ้า; ผลกระทบของค่าสกุลเงินเป็นเชิงบวก)
3. สถานะทางการเงินของรัฐบาล ยอดดุลงบประมาณและหนี้สิน ถ้าประเทศใดมีหนี้สินมาก จะทำให้ความน่าใจลดลงสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เพราะว่าหนี้สินสาธารณะที่มีมากนั้นนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อของประเทศ นอกจากนี้, หนี้สินขนาดใหญ่นั้นอาจทำให้ต่างชาติกังวัล ถ้าพวกเขาเชื่อในความเสี่ยงในประเทศการล้มเหลวในข้อกำหนัดหรือภาระผูกพัน ในกรณีนี้ ความต้องการของสกุลเงินของประเทศจะลดลง และทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนลดลงเช่นกัน
4. การไหลเวียนของข่าว
ข่าวการเมือง สังคม และอื่น ๆ
การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจาก IMF, OCER, ธนาคารโลก และองค์กรอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย Moody’s, Fitch. S&P และหน่วยง่ายอื่นๆ
นักลงทุนต่างประเทศมักจะหาประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมข่าวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมือง หรือความไม่สงบ กวาดการลงทุนออกไปจากประเทศที่ได้รับผลกระทบ